22.6.53

ต้นพอก

















มาอยู่ศรีสะเกษ มองเห็นต้นไม้กลางทุ่งนา รูปทรงงดงามใบหนา มีร่มเงาช่วยคลายร้อนให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ถามชาวบ้านเขาตอบว่า "ต้นพอก" จึงร้องว่า "อ้อ.โรงเรียนบ้านพอก โรงเรียนพอกพิทยาคม คงตั้งชื่อมาจากต้นไม้ชนิดนี้เอง" น่าเสียดายที่เห็นร่องรอยถูกตัดโค่น ถูกเผาแบบสุมโคน ตายกันเห็นๆ มากมาย อนาคตโลกเราคงร้อนขึ้นอีกมาก หากต้นพอกสูญพันธุ์

วงศ์ CHRYSOBALANACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ Parinari anamense Hance ชื่อพื้นเมืองกะท้อนลอก จัด จั๊ด ตะเลาะ ท่าลอก ประดงไฟ ประดงเลือด มะพอก มะคลอก มะมื่อ หมักมอก หมักมื่อ หมากรอก เหลอะ ใบเดี่ยวรูปไข่ ดอกสีขาวกลิ่นหอม ออกเป็นช่อ กลีบดอก 5 กลีบ
ผลสดมีเนื้อ เมล็ดรูปไข่ปลายแหลม เนื้อเยื่อในเมล็ดและเมล็ดเป็นอาหารคนและสัตว์ออกดอกช่วงปีใหม่ ผลสุกประมาณมีนาคม ต้นใหญ่สูง 10-30 ม.
ถาม - อยากทราบว่าเป็นอาหารคนมีวิธีบริโภคอย่างไร และให้สารอาหารอะไรบ้าง ปัจจุบันเขายังกินกันอยู่ไหม
ตอบ - สอบถามชาวบ้านได้ข้อมูลว่า เขาใช้เนื้อของผลสุก มาบดผสมกับแป้ง และน้ำตาล,แล้วทำขนมหวาน ซึ่งจะมีกลิ่นหอมเฉพาะของผลพอก
-วิธีการบริโภค คือหยิบใส่ปาก เคี้ยว ๆ แล้วกลืนลงไป ปัจจุบันมีคนกินน้อย แต่ยังมีคนกินอยู่
ประโยชน์ - ด้านสมุนไพร แก่นต้นพอกใช้ ต้มน้ำดื่ม และอาบแก้ประดง แก้ผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อน มีน้ำเหลืองไหลซึม ผสมกับสมุนไพรอื่น แก้หืด เปลือกต้นพอก ประคบแก้ช้ำใน แก้บวม